กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ตรวจบัญชี และส่งเสริมการทำบัญชี เพื่อสร้างความเข้มแข็ง โปร่งใส แก่สหกรณ์และเกษตรกร By the Year 2022.The strength of Cooperatives and Farmers will be of Good Quality and Reliable.
|
ท้าวเทพกระษัตรี ท้าวศรีสุนทร |
|
หลวงพ่อแช่ม วัดฉลอง |
|
หลวงปู่สุภา กันตะสีโล (หลวงปู่สุภา กนต สีโล) |
|
พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี |
ประวัติท้าวเทพกระษัตรี - ท้าวศรีสุนทร
คุณจัน เป็นบุตรีคนแรกของจอมร้างบ้านเคียน ซึ่งเกิดจากนางหม้าเสี้ย มีพี่น้องร่วมบิดา มารดาเดียวกัน 5 คน เมื่ออายุสมควรจะมีเรือน บิดามารดาก็ได้จัดการแต่งงานให้กับหม่อมภักดีภูธร ( สามีคนแรก ) มีธิดา 1 คน คือแม่ปราง และบุตร 1 คน คือนานเทียน หลังจากคลอดนายเทียน หม่อมภักดีภูธรเสียชีวิตลง คุณจันอยู่เป็นหม้ายจนกระทั้งแต่งงานครั้งที่สอง กับพระยาพิมลอยา ( ขัน ) ภายหลังเป็นพระยาสุรินทราชาพิลอยา ( ขัน ) มีบุตรธิดาอีก 2 คน คุณจันเป็นผู้ประกอบด้วยความงาม มีอัธยาศัยสุภาพอ่อนโยน และมีความกล้าหาญเด็ดเดี่ยวสมกับเป็นบุตรของจอมร้างบ้านเคียน จึงเป็นที่สนิทเสน่าหาของบิดามารดาและวงศ์ญาติทั้งหลาย เมื่อบิดามารดาแก่เฒ่า คุณจันก็ได้รับภาระปกครองผู้คนบ่าวไพร่ และดูแลการงานภายในครอบครัวแทนบิดามารดาโดยสิทธิ์ขาด
คุณมุก เป็นบุตรคนที่ 2 ของจอมร้างบ้านเคียน ซึ่งเกิดจากนางหม้าเสี้ย มีกิริยาสุภาพอ่อนโยนทั้งมีสติปัญญาและความกล้าหาญเด็ดเดี่ยวไม่ย่อหย่อนกว่าคุณจันผู้พี่ เป็นที่สนิทเสน่าหาของบิดามารดา และวงศ์ญาติเช่นกัน แต่ ไม่ปรากฎหลักฐานว่าแต่งงานกับผู้ใดหรือไม่
เมื่อจอมร้างบ้านเคียนถึงแก่กรรมลง พระยาสุวินทราชาพิมลอยา ( ขัน ) เป็นเจ้าเมือง ท่านผู้หญิงจันเป็นแม่เมืองปกครองเมืองถลางด้วยความสงบสุขสืบมา ครั้นเมื่อพระยาสุรินทราชาพิมลอยา ( ขัน ) เจ้าเมืองเสียชีวิต พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกรัชกาลที่ 1 ได้ให้ทหารมาจับกุมตัวท่านผู้หญิงจันเป็นเชลยศึกไปที่ค่ายปากพระ ในข้อกล่าวหาที่ว่าสามีเป็นหนี้แผ่นดิน
ส่วนแผ่นดินพม่ามีพระเจ้าปดุงครองราชสมบัติใต้ฟ้าแผ่นดินอังวะลุปี พ.ศ. 2328 พม่าได้เตรียมกองทัพใหญ่ด้วยพระประสงค์ที่จะขยายอาณาเขต ด้วยกองทัพที่ยิ่งใหญ่แกร่งกล้าในการรบสามารถปราบรามัญ ไทยใหญ่ มณีปุระยะไข่ รวบรวมไพร่พลได้ถึง 144,000 คน จัดเป็นทัพใหญ่หมายโจมตีสยามประเทศ เป็นที่รู้จักกันดีในนามสงคราม 9 ทัพ พม่ายกทัพเข้าบุกตีค่ายปากพระ ทหารของรัชกาลที่ 1 แตกบ่าย ท่านผู้หญิงจันในขณะนั้นยังถือว่าเป็นชลยศึก ได้หนีข้ามเขตมายังบ้านไม้ขาว บ้านสาคู และบ้านเคียน เข้าเขตเมืองถลาง
แม่ทัพใหญ่ยี่หวุ่นคุมกำลังเข้าตีหัวเมืองทางชายฝั่งทะเลตะวันตก ตั้งแต่เมืองกระบุรี ตะกั่วป่า ตะกั่วทุ่ง โดยมีเป้าหมายสูงสุดที่เมืองถลางขุมคลังของสยาม ข่าวทัพเรือพม่าบุกโจมตี กอรปกับเจ้าเมืองถลางเสียชีวิตเป็นข่าวร้ายที่ทำร้ายจิตใจชาวเมืองถลาง ให้อยู่ในความหวาดกลัว ไม่มีที่พึ่งหมดหวัง แต่พลังใจทั้งมวลกลับตั้งมั่นด้วยจิตใจที่เข็มแข็งของท่านผู้หญิงจันและคุณมุกน้องสาว โดยได้นำกำลังจากบ้านสาคู บ้านในยาง บ้านดอน บ้านไม้ขาว บ้านแขนน บ้านลิพอน บ้านเหรียงมาเตรียมการรบ ณ. วันพระนางสร้าง
ฝ่ายพม่ายกทัพเข้ามาเร่งก่อสร้างค่ายบริเวณโคกชนะพม่า เพื่อเตรียมโจมตีเมืองถลาง ส่วนท่านผู้หญิงจันคุณมุกและคณะกรมการเมืองวางแผนตั้งค่ายประชันค่ายข้าศึก เตรียมปืนใหญ่ตรึงไว้ดึงเวลาได้หลายวันเป็นผลให้เสบียงอาหารของพม่าลดน้อยลง และวางแผนให้กลุ่มผู้หญิงแต่งตัวคล้ายทหารไทย เอาไม้ทองหลางเคลือบดีบุกมาถือแทนอาวุธ ทำทียกขบวนเข้าเมืองถลางในช่วงดึกลวงพม่าว่าเมืองถลางมีกำลังมาเสริมทุกคืน ทำให้พม่าคาดการณ์กองกำลังเมืองถลางผิดพลาด การศึกครั้งนี้กินเวลายาวนานถึง 1 เดือนเศษ กำลังพม่าทั้งอ่อนล้าและขาดเสบียงอาหาร เมื่อพม่าตั้งพลเข้าโจมตีถูกฝ่ายเมืองถลางระดมยิงปืนเล็กปืนใหญ่ นำเอาดินประสิวไปโปรยในกองทัพพม่ายิงคบเพลิงเข้าไปผสม ครั้งเมื่อยิงปืนใหญ่ถูกต้นทองหลางหน้าค่ายพม่าหักลง กองทัพพม่าระส่ำระสายเสียขวัญ และแตกทัพไปเมื่อวันจันทร์ เดือน 4 แรม 14 ค่ำ ปีมะเส็ง สัปตศก จุลศักราช 1147 ตรงกับวันที่ 13 มีนาคม 2328 เป็น....วันถลางชนะศึก.....
เมื่อความทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมบำเน็จผู้ทำคุณแก่แผ่นดิน ให้ท่านผู้หญิงจันเป็น ท้าวเทพกระษัตรี คุณมุกน้องสาวเป็น ท้าวศรีสุนทร ดำรงยศอันมีศักดิ์แก่ฐานานุรูป เป็นศรีแก่เมืองถลาง และวงศ์ตระกูลสืบไป |
หลวงปู่สุภา กันตะสีโล (หลวงปู่สุภา กนต สีโล)
|
พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี
ท่านพระยารัษฏานุประดิษฐ์มหิศรภักดี หรือ คมซิมบี้ ณ ระนอง มหาอำมาตย์โท ท่านเกิดเมื่อวันพุธ เดือนห้า ปีมะเส็ง พ.ศ. 2400 ซึ่งท่านเป็นบุตรของพระยาดำรงสุจริต หรือ คอชู้เจียง เป็นเจ้าเมืองระนอง เมื่อท่านอายุได้ 25 ปี ท่านได้ดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองกระ อำเภอกระบุรี จังหวัดระนอง ซึ่งได้บรรดาศักดิ์เป็นพระอัศดงคตทิศรักษา ต่อมาในปี พ.ศ. 2444 ท่านได้ดำรงเป็นสมุหเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ต ปกครองหัวเมืองปักษ์ใต้ 7 เมือง ซึ่งสมัยนั้นได้แก่ ภูเก็ต ตรัง พังงา กระบี่ ตะกั่วป่า ระนอง และสตูล ในสมัยของท่านได้มีการพัฒนาภาคใต้มีความเจริญก้าวหน้ามาก มีการตัดถนนต่าง ๆ และยังได้นำยางพาราจากมาเลเซียเข้ามาปลูกเป็นต้นแรก โดยเฉพาะในเกาะภูเก็ต ท่านได้วางรากฐานในด้านต่าง ๆ มากมาย อาทิ การวางผังเมือง การก่อสร้างตึกอาคารในสมัยนั้น จนสามารถหาชมได้ในปัจจุบัน ซึ่งเกาะภูเก็ตถือว่าเจริญรุ่งเรืองมากในยุกของท่าน ท่านพระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี ได้ถึงแก่กรรมเมื่อ วันศุกร์ ที่ 10 เมษายน ปี พ.ศ. 2456 ปัจจุบันได้มีการจัดสร้างอนุเสาวรีย์ของท่านที่บนยอดเขารัง ปัจจุบันภูเก็ต ได้เป็นเมืองท่องเที่ยว ที่สำคัญแห่งหนึ่งที่มีนักท่องเที่ยวเดินทางมา เที่ยวภูเก็ต ซึ่งมีบริษัททัวร์ ให้บริการหลายรูปแบบ ทัวร์ทะเล ทัวร์ภูเก็ต
|
|